วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  4
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
Child Care of Early Childhood With Special Need
อาจารย์ผู็สอน
อาจารย์  ตฤน  แจ่มถิน
กลุ่มเรียน  103  เวลาเรียน  11: 30 - 14:40
วันที่  8  เดือน  กันยายน  พ.ศ. 2557
ชื่อ  นางสาวศิรดา  สักบุตร  รหัส  5511200684

กิจกรรม

**แบ่งกลุ่มนำเสนองานกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กพิเศษ
 กลุ่มที่  1  เด็ก  CP
 กลุ่มที่  2  เด็ก  LD
 กลุ่มที่  3   เด็กสมาธิสั้น
 กลุ่มที่  4  เด็กอัจฉริยะ
 กลุ่มที่  5  เด็กดาวน์ซินโดม

**เด็ก  CP  (Cerebral  Palsy)
    Cerebral  Palsy  ย่อมาจากคำว่า  CP  ไม่ใช่โรคเฉพาะความพิการจะคงที่  และไม่ลุกลามร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงตัวที่ปกติ  เช่น  การเกร็งของใบหน้า  สั่น  ลำตัว  แขน  ขา  การทรงตัว  การทรงท่าในขณะ  นั่ง  ยืน  เดิน

**สาเหตุ
   อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ  ร้อยละ  25  แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง  มี  3  สาเหตุ  หลักๆ   คือ
  1.  ระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา  หรือระยะก่อนคลอด  (Prenatal  Period)
       1.1  ภาวะติดเชื้อของมารดา  ระหว่างตั้งครรภ์
       1.2  ภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์
       1.3  ภาวะขาดสารอาหารที่มีคุณค่าของมาารดา  เช่น  ธาตุเหล็ก
       1.4  มารดามีโรคประจำตัว
       1.5  ยาหรือสารพิษบางอย่างที่มารดาได้รับมากกว่าปกติ
       1.6   ความผิดปกติของสมอง
       1.7  ความผิดปกติของโครโมโซม
       1.8  รกและสายสะดือที่ไม่สมบูรณ์
2.  ระหว่างคลอด (Perinatal  Period)
      2.1  เด็กคลอดก่อนกำหนด
      2.2  ภาสะขาดออกซิเจนในเด็กระหว่างคลอด
      2.3  ภาวะกลุ่มเลือดของมารดาและทารกไม่เท่ากัน
      2.4  การคลอดโดยใช้ยาระงับปวดมากเกินไป
3.  ระยะหลังคลอด  (Postnatal  Period)
     3.1  ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน
     3.2  การติดเชื้อของเด็ก
     3.3  อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก

**ปัญหา  และความผิดปกติที่เกิดร่วมกับเด็กสมองพิการ
    1.  ภาวะปัญญาอ่อน
    2.  ด้านการรับรู้
    3.  ด้านอารมณ์  และสังคม
    4.  โรคลมชัก
    5.  ด้านการมองเห็น
    6.  ด้านการได้ยิน
    7.  การสื่อความหมาย
    8.  ด้านกระดูก
    9.  ด้านอวัยะวะเรื่องปาก

**การดูแลรักษา
    การให้การดูแลเด็กสมองพิการ  ควรให้การดูแลรักษาในทุกๆด้านโดยอาศัยความร่วมมือของเด็ก  ครอบครัว  และทีมงานผู้ให้รับการรักษา

 **เด็ก  LD
     เด็ก  LD  หรือ  หรือเด็กที่มีภาวะทางการเรียนบกพร่อง  (Learning  Disorders  -  LD)

**สาเหตุของปัญหาการเรียน
    -  สติปัญญาบกพร่อง  หรือปัญญาอ่อน
    -  วิตกกังวล  หรือซึมเศร้า
    -  สมาธิสั้น
    -  ภาวะการเรียนบกพร่อง
    -  เจ็บป่วยเรื้อรัง
    -  ขาดโอกาสทางการศึกษา
    -  ขาดแรงจูงใจ
    -  วิธีการสอนไม่เหมาะสม

**LD  คือ
    -  ความบกพร่องของกระบวรการเรียนรู้  ที่เกิดการทำงานที่ผิดปกติของสมอง
    -  ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะ   ความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง  เช่น  การอ่าน  การเขียน   การสะกดคำ  การคำนวณ

**ประเภทเด็ก  LD
    -  LD  ด้านการเขียน   หรือ  สะกดคำ
    -  LD  ด้านการอ่าน
    -  LD  ด้านการคำนวณ
    -  LD  หลายๆด้านรวมกัน 

**ลักษณะของเด็ก  LD  (การเขียน)
    -  การลากเส้นวน
    -  เรียงลำดับอักษรผิด
    -  เขียนพยัญชนะ  หรือตัวเลขสลับด้าน  เช่น  ม-น  , ภ-ถ , b-d , p-q
    -  เขียพยัญชนะ  ก-ฮ  ไม่ได้
    -  เขียนคำตามตัวสะกด  เช่น  เกษตร  เป็น  กะเสด

**ลักษณะของเด็ด  LD  (การอ่าน)
    -  อ่านช้า  อ่านคำค่อมคำ
    -  อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
    -  อ่านข้าม  อ่านคำเพิ่มคำ
    -  อ่านโดยไม่เน้นคำ
    -  ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
    -  ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม





   
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น